2554/01/27
2554/01/18
ดอกไม้ 5 ชนิดพิชิตโรค
อากาศเย็น ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลของดอกไม้งามบานสะพรั่ง นอกจากจะชมกันเพลินตาแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า ดอกไม้หลายอย่างทานง่าย ให้ประโยชน์กับร่างกายด้วย
ดอกขจร
ดอกไม้หาง่ายในท้องตลาดราคาย่อมเยา ทั้งยังปลอดสารพิษ รสชาติอร่อย ส่วนใหญ่จะนำมาปรุงเป็นขนมดอกขจร หรือตอนนี้ดอกสีเขียวอ่อนนำมาผัดน้ำมันหอย ปรุงในจานยำ จิ้มน้ำพริกชุบแป้งทอด
ประโยชน์ : มีแคลเซียมสูงบำรุงกระดูกและฟัน วิตามินเอบำรุงสายตา สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมบาดแผล
ดอกแค
คนโบราณบอกว่าดอกแคแก้ไข้หัวลม เหมาะจะกินช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศเปลี่ยนฤดู และดอกแคยังมีใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ จึงช่วยในระบบขับถ่ายได้ดี เหมาะจะนำมาใส่ในแกงส้ม จานยำ หรือผัดใส่หมูสับ กุ้งสับ หรือจะลวกจิ้มน้ำพริก
ประโยชน์ : ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
ดอกโสน
ขนมดอกโสนที่คนรุ่นคุณพ่อคุณแม่รู้จักกันดี มีรสหวานชวนรับประทาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น นำมาชุบแป้งทอดกรอบ รับประทานกับขนมจีนน้ำพริก ผัดน้ำมันหอยนำไปลวกจิ้มน้ำพริก แกงดอกโสน ยำดอกโสน
ประโยชน์ : เป็นยาแก้ปวดมวนท้อง
ดอกอัญชัน
เมื่อก่อนคนนิยมใช้นำมาปรุงแต่งสีสันอาหารให้ดูน่ารับประทาน เช่น ขนมช่อม่วง ขนมชั้น เล็บมือนาง โดยคั้นเอาน้ำมาผสมกับอาหารก่อนจะปรุงหรือหยอดสีม่วง ตอนหุงข้าวจะได้ข้าวสีสวย แต่ตอนนี้เริ่มเป็นที่นิยม โดยนำดอกไปตากแห้ง หรือใช้ดอกสดต้มน้ำและเติมน้ำตาล มะนาว ดื่มแก้กระหายคลายร้อน
ประโยชน์ : สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชัน จึงช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น
หัวปลี
เป็นดอกของต้นกล้วย กินได้ทั้งแบบดิบและสุก รสชาติจะฝาด นำกลีบมาชุบแป้งทอดกินได้ หรือจะใช้ใส่ในแกงเลียง ต้มยำไก่ กินแกล้มกับขนมจีนน้ำพริก ทำทอดมัน และอีกสารพัดเมนูของอร่อย ซึ่งหาทานได้ง่ายมาก มีมากมายตามสวนไร่นา
ประโยชน์ : บรรเทาอาการโรคกระเพาะอาหาร ใบหัวปลีมีธาตุเหล็ก บำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด
2554/01/13
ใช้ไม้จิ้มฟัน โปรดระวัง !*
สิ่ง ที่คิดถึงก่อนอื่นเห็นจะเป็นไม้จิ้มฟัน ...ไม้จิ้มฟันเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ ทำจากไม้ โลหะ เขาสัตว์ ปัจจุบันทำมาจากพลาสติกก็มีมาก ลักษณะของไม้จิ้มฟันส่วนมากจะเป็นแท่งกลมเรียวแหลมเล็ก หน้าที่หลักของไม้จิ้มฟัน คือเพื่อใช้เขี่ยเศษอาหารชิ้นโตๆ ที่ติดตามซอกฟัน แต่ไม้จิ้มฟันไม่สามารถทำความสะอาดในระดับที่เอาคราบอาหารหรือที่เรียกว่า คราบพลัค (plaque) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคฟันฟุและเหงือกอักเสบได้
การ ทำความสะอาดซอกฟันหรือด้านข้างของฟัน ทันตแพทย์จะมีอุปกรณ์หลายๆ อย่างที่จะแนะนำให้ใช้ เช่น ไหมขัดซอกฟัน (Dental floss) แปรงซอกฟัน (interproximal brush) หรือ water pick
ไหมขัดซอกฟันเป็นใยไนล่อนที่ใช้ทำความสะอาดซอกฟันและสามารถขจัดคราบ อาหารหรือเศษอาหารชิ้นโตๆ ได้อย่างดี และไม่เป็นอันตรายต่อเหงือก เพียงแค่มีข้อจำกัดที่ต้องฝึกฝนในการใช้และจะใช้เวลาบ้างเล็กน้อยที่จะทำ ความสะอาดให้ครบทุกซี่
ทีนี้ถ้าเรามาเทียบไม้จิ้มฟันกับไหมขัดฟันแล้วอะไรจะมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดได้ดีกว่ากัน...
ตัวไม้จิ้มฟันที่ใช้กันอยู่ มักจะใช้แบบผิดวิธี คือ เราจะใช้จิ้มเอาเศษอาหารออกโดยการผลักไม้จิ้มฟันให้ผ่านซอกเหงือก เพราะความเรียวเล็กที่ปลายและใหญ่ที่โคน เมื่อผลักเลยเข้าไปในซอกฟันมากๆ เข้าขนาดของไม้จิ้มฟันก็ไปเบียดให้ยอดเหงือกถูกกดต่ำลง เมื่อใช้กันทุกวี่ทุกวันหลังอาหาร ยอดเหงือกที่เคยแหลมๆ ปิดซอกฟันจะถูกเบียดให้ต่ำลง และทำให้มีช่องว่างใหญ่ขึ้น ช่องว่างใหญ่มีผลทำให้เศษอาหารติดง่ายยิ่งขึ้น (ยิ่งใช้ไม้จิ้มฟันเศษอาหารก็ยิ่งติด) เมื่อเกิดช่องว่างระหว่างฟันทำให้ขาดความสวยงามโดยเฉพาะฟันหน้า
วิธีใช้ไม้จิ้มฟันอย่างถูกต้อง ก็คือ
ใช้ ไม้จิ้มฟันเขี่ยเศษอาหารมากกว่าการจิ้มเข้าไป เวลาเขี่ยเศษอาหารเราเขี่ยจากเหงื่อไปตามซี่ฟันไม่ควรทิ่มจากด้านหน้าฟัน ทะลุไปถึงหลังฟัน ถ้าทำอย่างนี้ได้ไม้จิ้มฟันจะไม่กดเหงือกให้ลดต่ำลง โอกาสเกิดช่องว่างก็น้อยลง เมื่อเกิดช่องว่างแล้วโอกาสแก้ไขให้ยอดเหงือกกลับมาสู่ตำแหน่งเดิมเป็น เรื่องยากมาก
ความสะอาดของไม้จิ้มฟันก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ
เนื่อง จากไม้จิ้มฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปไม่มีการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง การใช้ไม้จิ้มฟันไม่ระมัดระวังอาจมีการติดเชื้อได้โดยเฉพาะคนที่มีโรคเหงือก อักเสบอยู่แล้ว หรือมีการหักของไม้จิ้มฟันคาอยู่ที่เหงือก
จะเห็นได้ว่าไม้จิ้มฟันเองมีประโยชน์ในการเขี่ยเอาเศษอาหารออกก็จริง แต่อีกด้านหนึ่งก็มีผลต่อโครงสร้างของเหงือกด้วยเช่นกัน
2554/01/04
2554/01/03
วันขึ้นปีใหม่
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย