2553/01/22

ดอกดาหลา




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith

ชื่อพ้อง : Phaeomeria magnifica, Nicolaia elatior

ชื่อสามัญ : ดาหลา

วงศ์ : Zingiberalesชื่อ

อื่น ๆ : กาหลา, กะลา

ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ต้นดาหลา เป็นชื่อของพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งซึ่งมีดอกที่สวยงาม มีความนิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก ที่อยู่ในวงศ์ขิง( Zingiberales) ซึ่งจัดเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับขิงและข่านั้นเอง ส่วนลำต้นดาหลาจะอยู่ใต้ดินที่พวกเราเรียกว่าเหง้าซึ่งเหง้าที่พูดถึงนี้จะเป็นจุดกำเนิดของหน่ออ่อนของทั้งต้นและดอกดาหลาต่อไป
ต้นดาหลานอกจากจะนำมาเป็นไม้เพื่อชมความสวยงามของดอกแล้วยังสามารถนำดอกมาประกอบอาหารได้และก็มีคุณค่าทางสมุนไพรสูงมากด้วย

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ลำต้น ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้ามนี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม

ใบ มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ

ดอก ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ

Bract มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอกจะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะพัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

ประโยชน์และสรรพคุณ : ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้

สายพันธ์
-ดอกสีแดงได้แก่ พันธุ์บัวแดงใหญ่ พันธุ์แดงอินโด
-ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์บานเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น