ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) สนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก เรียนจบจากมหาวิทยาลัยเวียนนาสาขาวิทยาศาสตร์ แล้วเรียนต่อสาขาแพทยศาสตร์ จากนั้นได้ไปศึกษาต่อด้านโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับหมอผู้เชี่ยวชาญด้านอัมพาต ที่นั่นฟรอยด์ได้ค้นพบว่าความจริงแล้วคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ร่างกาย หลังจากกลับมาอยู่ที่กรุงเวียนนา ฟรอยด์จึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) กับคนไข้ที่เป็นอัมพาต กล่าวคือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฏว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากอัมพาต
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ คือ
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตใจของมนุษย์ และอธิบายว่า จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ มี 3 ลักษณะ คือ
1. จิตรู้สำนึก (Conscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ ได้แก่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ แต่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมในขณะนั้น เป็นส่วนที่รู้ตัวสามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
2. จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ระลึกถึงได้ แต่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรมในขณะนั้น เป็นส่วนที่รู้ตัวสามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
3. จิตใต้สำนึก (Unconscious mind) หมายถึง สภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจ แต่มีอิทธิพลจูงใจพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตของคนเรามากที่สุด
เขาอธิบายว่าจิตใต้สำนึกของคนเราแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ อิด (Id) อีโก้ (Ego) และ ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) โดย อิดจะเป็นพลังอารมณ์ความรู้สึกที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เช่น รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกว่าเป็นสัญชาตญาณดิบของคนเรานั่นเอง ซึ่งหากคนเรามีอิด เพียงอย่างเดียวก็จะไม่ต่างอะไรกับสัตว์ที่ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจตัวเองได้ ในขณะที่ ซุปเปอร์อีโก้จะเป็นพลังงานที่เกิดจากการเรียนรู้ค่านิยมต่างๆ เช่น ความดี ความชั่ว มโนธรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นพลังในส่วนดีของจิตมนุษย์ที่จะคอยหักล้างกับพลังอิด ทั้งนี้ในระหว่างความสุดขั้วของอิด และซุปเปอร์อีโก้นั้นจะมี อีโก้อยู่ระหว่างกลางคอยทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้คนเราแสดงสัญชาตญาณดิบออกมามากเกินไป แต่ก็ไม่ถึงขั้นทำให้คนเราแสดงออกซึ่งมโนธรรมเพียงอย่างเดียวเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น