โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตร เป็นโลมาชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Orcaella brevirostris อยู่ในวงศ์โลมา (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีขนาดประมาณ 180 - 275 ซ.ม. น้ำหนักไม่มีรายงาน
มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย
ถูกค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ ทะเลสาบชิลิก้า ประเทศอินเดีย, แม่น้ำโขง, ทะเลสาบสงขลา, แม่น้ำมะหะขาม ประเทศอินโดนีเซีย และปากแม่น้ำบางปะกง
โลมาอิรวดีได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อประเทศไทยเสนอเพิ่มความคุ้มครองในอนุสัญญาไซเตสจากบัญชีสอง เป็นบัญชีหนึ่ง เพื่อให้โลมาที่น่ารักและมีจำนวนประชากรน้อยนิดชนิดนี้ได้รับการคุ้มครองมา
การอนุรักษ์โลมาอิรวดี......
ตามกฎหมายไทย โลมา อิรวดีได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 138 (สัตว์ป่าคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าที่เกิดในธรรมชาติและมีรายชื่ออยู่ในประกาศ คณะรัฐมนตรีให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามล่า ห้ามครอบครอง หรือห้ามเพาะพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับ อนุญาต-กอง บ.ก.) สมเด็จพระ นางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงมีพระราชประสงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์ โลมาอิรวดีซึ่งเป็นสัตว์หายาก พร้อมทั้งทรงรับไว้เป็นสัตว์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ก็จัดให้โลมาอิรวดีอยู่ในบัญชีตัวแดง (Red List) โดยอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต (Critically Endangered)
และ จากการประชุมไซเตส ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 2-14 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ผลการประชุมได้อนุมัติให้โลมาอิรวดีเปลี่ยนสถานภาพจากบัญชีที่ 2 ขึ้นสู่บัญชีที่ 1 ตามข้อเสนอของประเทศไทย ทำให้อนาคตของโลมาอิรวดีดูไม่ริบหรี่เกินไปนัก เพราะอย่างน้อยอนุสัญญานี้ก็เป็นเกราะป้องกันโลมาอิรวดีจากการล่าและค้า ระหว่างประเทศ ทั้งยังจะช่วยให้การดำเนินการอนุรักษ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นี่เป็นเพียงก้าวแรกของการเริ่มอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีค่าอย่างโลมาอิรวดี ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญของความหวังที่จะอนุรักษ์โลมาชนิดนี้ไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น