ต่อมามีการ พัฒนาพันธุ์ตามธรรมชาติและโดยฝีมือมนุษย์และเพาะปลูกกินเป็นอาหารกันแพร่ หลายทั่วไป ปี ค.ศ. 1519 เมื่อกองทัพสเปนนำโดย เฮาร์นาน คอร์เตส์ (Hernan Cortes) บุกยึด อาณาจักรเม็กซิโกของชาวพื้นเมืองเอซเท็ค (Aztecs) เป็น อาณานิคมของตนและประกาศ เป็นประเทศสเปนใหม่ (New Spain) ขึ้น ทหารสเปนผู้รุกรานก็ได้พบชาวเอซเท็คปลูกมะเขือเทศพันธุ์ต่าง ๆ ไว้กินกัน แพร่หลายอยู่แล้ว มะเขือเทศเขียวนำมาเป็นผักปรุงกินกับอาหาร
ส่วนผลสุก ก็รู้จักนำมาผสมกับพริกทำซอสรสโอชาไว้กินกับถั่วจากนี้มะเขือเทศจึงถูกนำ ข้ามน้ำข้ามทะเลสู่ยุโรปในสมัยต้นศตวรรษที่ 16เริ่มที่ สเปนก่อนแล้วจึงขยายไปประเทศอื่น
ในทางพฤกศาสตร์ ผลไม้ คือ รังไข่ที่เจริญเต็มที่ของพืชดอก ส่วน ผัก คือ ส่วนที่กินได้ของพืชล้มลุก ไม่ว่าจะเป็นราก (แครอท) ก้าน (หน่อไม้ฝรี่ง) ใบ (ผักกาด) หัว (กระเทียม) หน่อ ดอก (บลอคโคลี)
โดยปกติเราจะวัดความแตกต่างระหว่างผักกับผลไม้ที่ความหวาน ซึ่งผลไม้มักจะมีรสหวานกว่าผัก เนื่องจากมีน้ำตาลฟรุกโตสสูง และการที่มีรสหวานก็ช่วยดึงดูดให้สัตว์มากิน อันเป็นหนทางที่ดีในการขยายพันธุ์ เพราะอย่างนี้ทั้ง มะเขือเทศ แตงกวา ฟักทอง พริก มะเขือ และฝักถั่ว จึงเป็นผลไม้ที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นผัก
และสถานะความเป็นผักหรือ ผลไม้ของมะเขือเทศก็เคยถูกส่งขึ้นพิจารณาถึงในศาลสูงของอเมริกามาแล้ว เมื่อนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ท่าเรือ ที่เก็บภาษีนำเข้ามะเขือเทศของพวกเขา ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีศุลกากรปี 1883 ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าผักต้องจ่ายภาษี และยกเว้นภาษีนำเข้าให้ผลไม้ โดยศาลสูงของอเมริกา ตัดสินเรื่องนี้โดยระบุว่า ผัก ตามนิยามของกฎหมายว่าด้วยภาษีศุลกากร เป็นคำนิยามตามแบบที่คนทั่วไปเข้าใจกัน ไม่ใช่คำนิยามทางพฤกษศาสตร์ กรณีมะเขือเทศจึงถือว่าเป็น ผัก และการนำเข้ามะเขือเทศย่อมต้องจ่ายภาษีท้ายสุด
มะเขือเทศเป็นผลไม้ที่ผู้คนทั่วโลกนิยมกันมากที่สุด โดยแต่ละปีผลผลิตออกมามากกว่า 60 ล้านตัน มากกว่ากล้วย ถึง 16 ล้านตัน
สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ : ในผลมะเขือเทศมีสารจำพวก แคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามิน บี 1 บี 2 วิตามิน เค โดยเฉพาะวิตามิน เอ และวิตามิน ซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น
สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ :
ผลมีรสเปรี้ยว ช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระต้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วยช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ ให้รับประทานผลสด
ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ
ผิวหนังที่โดนแดดเผา โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น
แก้อาการปวดฟัน โดยนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทาน
รักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง โดยใช้น้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่ม
ช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตา และช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต และช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ โดยรับประทานมะเขือเทศสุกเป็นประจำ
ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกระหายคลายร้อน และช่วยรักษาโรคแผลร้อนใน โดยคั้นน้ำมะเขือเทศสุกหรือปั่น ดื่มรับประทาน
ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง :
1. น้ำจากผลมะเขือเทศสุกมีสารไลโคเปอร์ซิซิน (Lycopersicin) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย
2. ใบมีฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยชงกับน้ำร้อนใช้กำจัดหนอนและแมลง ที่มากินผักได้
วันนี้คุณทานผักแล้วหรือยัง ???
ขอบคุณครับมีความรู้มากเลย
ตอบลบ